1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางและจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
1.1 ศึกษาวิเคราะห์และกำหนดขอบเขตพื้นที่พัฒนารอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ของพื้นที่โครงการ ในระยะรัศมีไม่เกิน 2,000 เมตรจากขอบเขตพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงเป้าหมาย
1.2 งานทบทวนนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ข้อมูลผลการศึกษา และการดำเนินงานของโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่โครงการสำรวจ รวบรวม และศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านกายภาพ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะธรณีวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพชลศาสตร์ การระบายน้ำธรรมชาติ และนิเวศวิทยาของพื้นที่โครงการฯ
1.3 สำรวจ รวบรวม และศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารในปัจจุบัน
1.4 สำรวจ รวบรวม และศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านสาธารณูปการ
1.5 สำรวจ รวบรวม และศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านสาธารณูปโภค
1.6 สำรวจ รวบรวม และศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านคมนาคมและขนส่ง
1.7 สำรวจ รวบรวม และศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านกฎหมาย กฎระเบียบ
1.8 ศึกษาบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่โครงการฯ ในภาคอสังหาริมทรัพย์ กิจการขนส่งมวลชน และสาธารณูปโภค
1.9 ข้อมูลแผนที่ฐาน (Base Map) และแผนที่แสดงข้อมูลและผลการวิเคราะห์โดยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
1.10 วิเคราะห์และกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่โครงการฯ ตามแนวคิดการพัฒนารอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
2. การวางและจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินพื้นที่โครงการฯ
2.1 กำหนดกรอบแนวคิดและผังแนวคิด (Conceptual Plan) การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง ตามหลักการ TOD ของพื้นที่โครงการฯ
2.2 กำหนดวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ของการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงตามหลักการ TOD ของพื้นที่โครงการฯ
2.3 จัดทำแผนผังและข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ บริเวณพื้นที่โครงการฯแผนผังระบบคมนาคมและขนส่ง แผนผังระบบสาธารณูปโภค แผนผังระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยสอดคล้องกับองค์ประกอบผังเมืองรวมตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 มาตรา 22
2.4 จัดทำแผนงานโครงการพัฒนาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาตามแผนผังฯ ในระยะ 5 และ 10 ปี พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการนำไปสู่การปฏิบัติและการติดตามตรวจสอบอย่างชัดเจน พร้อมทั้งคัดเลือกและเสนอแนะโครงการนำร่องอย่างน้อย 1 โครงการในแต่ละพื้นที่โครงการฯ ที่มีระยะเวลาการพัฒนาโครงการนำร่องดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์ของ สกพอ. และแผนการพัฒนาสถานีของโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้
2.5 ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น (Pre-feasibility Study) ของโครงการนำร่องดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมเบื้องต้น ประโยชน์และผลกระทบที่จะได้รับ และแนวทางการบริหารโครงการ โดยสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่และการดำเนินการโดยภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ การศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และการประเมินผลกระทบทางสังคมเบื้องต้น
2.6 สนับสนุน สกพอ. ในการเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลการศึกษาและ (ร่าง) แผนผังฯ ต่อคณะทำงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. การมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย
3.1 การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อการวางและจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการฯ ทั้ง 2 แห่ง
3.2 การประชุมรับฟังความคิดเห็นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่โครงการนำร่องทั้ง 2 แห่ง
3.3 จัดทำแผนและดำเนินงานประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโครงการให้ประชาชนและกลุ่มเป้าหมายสามารถรับรู้ สร้างความเข้าใจ ตลอดจนให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการหรือผลกระทบต่าง ๆ โดยจัดทำสื่อต่าง ๆ เพื่อประกอบการประชุมการมีส่วนร่วมและประชุมกลุ่มย่อย